

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ให้บริการคำปรึกษาด้านอาหารและโภชนาการผ่านแอปพลิเคชั่น Diamate
รู้หรือไม่หากเป็นเบาหวานนานๆ อาจมีโรคตามมาได้
ตา อาจเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมหรือต้อกระจก หรือ ที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “เบาหวานขึ้นตา” เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดในจอประสาทตาจะเริ่มมีอาการอักเสบ โป่งพอง และหากทิ้งไว้นานๆจอประสาทตาจะเริ่มขาดเลือด เซลล์ในการรับการมองเห็นถูกทำลายจนเหลือน้อยลง และทำให้การมองเห็นลดลงเรื่อยๆ
ไต เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงไตมีการเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของไตลดลง และเกิดโปรตีนรั่วออกมา ทำให้เกิด โรคไตเรื้อรัง
หัวใจ ผู้ป่วยเบาหวาน โดยส่วนใหญ่พบว่ามักจะมี ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ได้มากกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานอาจจะมีโรคหัวใจและหลอดเลือดแทรกซ้อนได้ง่าย และถ้าหากไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจได้มากขึ้นอีกด้วย
ปลายประสาทเสื่อม หรือ อาการชาปลายมือปลายเท้า บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินว่า ผู้ป่วยเบาหวานต้องได้รับการตัดขา นั่นมาจาก มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาจากน้ำตาลในเลือดที่สูงมานาน ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย จึงส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเส้นประสาทได้ โดยเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า ทำให้เกิดอาการชาตรงปลายมือปลายเท้า ผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่มีความรู้สึกตรงส่วนปลายมือปลายเท้า ทำให้เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้า ผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่รู้สึกว่ามีแผล ทำให้แผลที่เท้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เมื่อมาตรวจอีกทีก็พบว่า มีปัญหาแผลลุกลามไปแล้ว จึงส่งผลให้โดนตัดขาในส่วนที่มีแผลเน่าเกิดขึ้น
หลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับอาการแทรกซ้อนอื่นๆหาก น้ำตาลในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็ง และ ผู้ป่วยเบาหวาน มักมีความดันโลหิตสูง และ ไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย หากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีอาการตีบตันมากกว่าปกติ ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และเมื่ออาการตีบตันมากยิ่งขึ้นอาจส่งผลให้เกิด อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาตเกิดขึ้นได้
ก่อนอื่นคงต้องเริ่มจาก การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือ ตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดแล้วมีค่า น้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งสามารถใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลกลูโคสแบบพกพา ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสเพื่อประเมินอาการเบื้องต้นได้
เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับเรื่องผลไม้กับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจจะมีความเชื่อเรื่องผลไม้มีน้ำตาล บางคนก็ว่าทานได้ บางคนก็ว่าทานไม่ได้ ตกลงจะเชื่อใครดี วันนี้ Diamate ก็จะมาไขข้อข้องใจให้ฟังกันค่ะ
1. เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมน จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเบาหวานประเภทนี้มักจะพบในเด็กและคนอายุน้อย ที่มีรูปร่างผอม
2.เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่ร่างกายสามารถหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ฮอร์โมนทำงานได้ลดลง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายสามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้น้อยลง ซึ่งโรคเบาหวานที่คนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเป็นมากที่สุด คือ โรคเบาหวานชนิดนี้ โดยสังเกตได้ง่ายๆว่าคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้จะมีรูปร่างอ้วน ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและการขาดออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน ดังนั้นวิธีง่ายๆในการป้องกันเบาหวานคือการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย
3.เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยพบว่าหลังคลอดระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับมาเป็นปกติ แต่จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต โดยเฉพาะในคนที่ไม่มีการปรับพฤติกรรมชีวิตในการลดความเสี่ยงเช่น พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร
4.เบาหวานจากสาเหตุอื่น หมายความว่าเป็นเบาหวานที่มาจากสาเหตุอื่นๆเช่น โรคของตับอ่อน จากความผิดปกติของยา ของต่อมไร้ท่อ จากการติดเชื้อ หรือ โรคทางพันธุกรรม แล้วส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น